Thursday, May 30, 2013

ภาษาไทย ม.3 บทที่3 เช้าฮาเย็นเฮ


                         บทที่ 3
                         เรื่อง    เช้าฮาเย็นเฮ

พ่อรักเราและรักแม่เราจึงไม่กินเหล้า
พ่อบอกว่าพ่ออยากอยู่กับเรานานๆ
คนที่เล่นดนตรี  คนที่เล่นกีฬาจะแข็งแรงและอายุยืน
คนกินเหล้าอายุสั้น  พ่อเราอยากมีอายุยืน
และพ่อบอกว่าอยากเสียเงินซื้อเหล้า
พ่อจะเก็บเงินไว้ให้เราเรียนสูง ๆ"


เช้าฮาเย็นเฮ

สุพจน์กับศรัณย์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนประจำจังหวัด  เดินออกจากโรงเรียนเพื่อจะกลับบ้านซึ่งอยู่ทางเดียวกันสุพจน์นึกถึงว่า...จะต้องไปพบพ่อที่พาเพื่อนมานั่งกินเหล้าอยู่หน้าบ้านคุยกันเฮฮาแล้วเรียกหากับแกล้ม  พอดึกเข้าก็จะเมา  เสียงเฮฮาก็จะกลายเป็นอ้อแอ้      เพื่อน ๆ  พ่อบางคนก็กลับบ้าน    บางคนก็ไม่กลับเพราะกลับไม่ไหว     พอพ่อเข้ามาในบ้านก็จะเริ่มบ่นแล้วด่าว่าแม่    ว่าทำไม่ไม่ดูแลบ้าน  วางข้าวของเกะกะ  ทิ้ง ๆ  ที่ในบ้านแทบจะไม่มีข้าวของอะไรอยู่แล้ว  แล้วก็ว่าะไรไปเรื่อย ๆ ซํ้า ๆ กันทุกวัน

สุพจน์    :   เราไม่เข้าใจเลย    ไอ้เหล้านี่มันมีอะไรดี   พ่อต้องกินทุกวัน   
                   พอตกเย็นก็กินเหล้า    กินแล้เวก็เมา    เฮไปเฮมา   แล้วก็ต้องมา
                  ทะเลาะกับแม่
ศรัณย์    :   มันก็มีฤทธิ์ซิ  เรายังอยากลองกินเลย   เขาว่ากินเหล้าแล้วเก่ง   
                   ไม่มีใครกล้าสู้
สุพจน์    :   เราว่า   เขาไม่สู้เพราะเหม็นเหล้ามากกว่า   คนเมาเหล้าดูทุเรศ 
                   น่าเกลียดจะตาย
ศรัณย์    :    เราถ้ากินนิดหน่อย    ไม่เมามาก  ก็เท่ดีนะ
สุพจน์    :   เราไม่เห็นเท่สักนิด   เหล้าต้องไม่ดีแน่ๆ  ผู้ใหญ่ถึงห้ามเราไม่ให้กิน
ศรัณย์    :   ถ้าไม่ดี   ทำไมเขาถึงกินกันทั้งบ้านทั้งเมืองล่ะ  เหล้าแพงด้วยนะ
สุพจน์    :   นายว่าเหล้าดี  แต่พ่อนายก็ไม่กินเหล้า  พ่อเรากิน  เราก็เห็นอยู่ว่าไม่ดี   เรามาหาข้อมูลแข่งกัน        
                   ไหม   ที่ว่าดีกับไม่ดีอะไรจะมากกว่ากัน
ศรัณย์    :    หาที่ไหนดีล่ะ   จากหนังสือหรือทางเหน็ตดี
สุพจน์   :    ทางไหนก็ได้   เออ   นายไปถามพ่อนายก็ได้   พ่อนายไม่กินเหล้า  อาจจะบอกได้ว่าทำไมไม่
                   กิน  พ่อเราน่ะไม่ต้องถามหรอก  รู้คำตอบอยู่แล้ว  เขาต้องว่า  เหล้าดีมาก  มันซื้อสัตย์กินทีไร
                   เมาทุกที   เขายังกินทุกวันเลย
ศรัณย์    :   เออ   พอดีครูให้ทำรายงาน   สิ่งที่เป็นภัยสังคม  เราเอาเรื่องนี้   ทำเป็นรายงานส่งครูเลย   
                  นายหาจากหนังสือนะ   เราจะดูทางเหน็ต  แล้วเรามาดูกัน
สุพจน์    :  เออ   ตกลง  แล้วเจอกันนะ
ศรัณย์    :   หวัดดี

อีก  ๒  วันต่อมา  ศรัณย์กับสุพจน์  นำข้อมูลที่หาได้
มาพิจารณาด้วยกัน

              ศรัณย์ค้นข้อมูลจาก  สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  โดยพระราชาประสงค์ในพระบาทเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เล่ม ๒๗ หน้า ๑๗๓ ได้ความรู้ว่า
              เหล้าเป็นเครื่องดื่มที่มีสารแอลกอฮอล์     แอลกอฮอล์เป็นสารธรรมชาติที่ได้เจากหมักนํ้าตาล  
( เช่น นํ้าตาล จากข้าวต่างๆ จากข้าวโพดหรือจากผลไม้  เช่น องุ่น ) กับ ยีสต์  เกิดเป็นสารซึ่งมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า  เอทานอล ( ethanol ) สารนี้เป็นของเหลวที่ระเหยง่าาย  มีกลิ่นและรสแรงบาดคอ 
เมื่อจะทำเป็นเครื่องดื่มจึงผสมกับสิ่งอื่นทำให้เอทานอลเจือจางลง   ส่วนผสมที่มีนํ้า  ๑๐๐ ส่วน   มี  แอลกอฮอล์ ๒๘ ส่วน  เรียกว่า  มีแอลกอฮอล์ ๒๘ ดีกรี ถ้าส่วนผสมมีนํ้า ๑๐๐ ส่วน  มีแอลกอฮอล์ ๓๕ส่วน  เรียกว่า   มีแอลกอฮอล์  ๓๕ ดีกรี  เหล้าที่ผลิตและนิยมดื่มกันในประเทศไทยมักจะเป็นเหล้านี้ที่มีแอลกอฮอล์   ประมาณ ๓๕ ดีกรี 
สุพจน์    :   เราได้ข้อมูลจากเหน็ตมาเพียบเลย   นี่ไง
ศรัณย์    :   นายโหลดมาเหรอ
สุพจน์   :    เปล่า  เราไม่ได้โหลดมาหรอก   พี่เราบอกว่า  เราไม่ควรลอกข้อความจากเหน็ต   ควรอ่านแล้ว        
                   สรุปมาแต่ใจความที่น่าสนใจ  ถ้าจะลอก  ก็ต้องบอกชื่อเจ้าของให้ชัดเจน
                   เราจะอ่านที่เราเขียนมาให้ฟังนะ

                  เมื่อเราดื่มสุรา   เอทิลแอลกอฮอล์ที่กินจะเข้าไปสู้เส้นเลือดซึ่งจะกระจายไปสู่ทุกส่วนของร่างกายและทฎให้เกิดผลต่อสมองถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด  ๒๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   จะทำให้รู้สึกคึกคักร่าเริง  คนกินเหล้าแรกๆ ก็จะเฮฮาสนุกสนานถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๕๐  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  จะควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้คล่อง   ทำอะไรช้าลง  ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๑๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะทำให้เดินไม่ตรงทาง  ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๒๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะเกิดอาการสับสน  จึงมักจะมีเรื่องวิวาทกัน    ถ้ามีแอลกอฮอล์ในเลือด ๔๐๐ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะเกิดอาการสลบและอาจถึงตายได้

ศรัณย์    :   เรารู้ว่า   คนที่กินเหล้ามีแอลกอฮอล์เกิน  ๕๐  มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   ถ้าขับรถจะถูถตำรวจจับ 
                  ต้องโดนปรับและอาจถูถติดคุกด้วยนะ 
สุพจน์   :   ใช่   เพราะตอนนั้นประสาทจะสั่งการช้าลง   จึงไม่ควรขับรถแล้วนายรู้ไม่ว่าพิษ  
                  ของแอลกอฮอล์ต่อร่างกายมีอะไรบ้าง
ศรัณย์   :   รู้ซิ  แยะเลย   ร้ายๆ  ทั้งนั้น
สุพจน์  :   ใช้   เราหามาจากเหน็ตด้วย   เราสรุปมาได้อย่างนี้
                 
                 เมื่อดื่มสุราตอนแรก   สุราจะกระตุ้นจิตใจให้ชุ่มชื่น   ลืมทุกข์ลืมความไม่สบายใจชั่วคราว      แต่ถ้าดื่มต่อไปก็จะติดเพราะสุราเป็นสารเสพติด   กินแล้วก็จะกินบ่อยๆ   กินเป็นประจำแล้วจะเกิดโรค    เรีกว่า   โรคพิษสุราเรื้อรัง  ทำให้เกิดโรคตับแข็ง   กล้ามเนื้อหัวใจฝ่อ   ความดันโลหิตสูง   ประสาทตาเสีย      
และโรคอื่น ๆ  อีกหลายโรค
ศรัณย์   :    แม่บอกเราว่า

                  โทษของสุราเมรัยนั้น    รู้กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้วจึงได้มีศีลข้อ  ๕  ห้ามดื่มสุราเมรัย   เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คนขาดสติ    มึนเมา   ทำสิ่งที่ไม่หน้าทำและไม่ควรทำ     แต่ที่คนยังคงดื่มกันอยู่ก็เพราะคนเราออ่นแอ  ไม่เข้มแข็งพอที่จะขัดขืนกิเกสหรือความอยากในความชั่วได้  

สุพจน์    :    เราเคยได้ยินมาว่า   "คนกินเหล้าเพราะมีคนชวนให้กิน   คนชวนบอกว่า    ผู้ชายต้องกิน
                    เหล้า"  
ศรัณย์    :    แปลว่าอะไร   ผู้ชายต้องกินเหล้า   ก็เราเป็นผู้ชาย    ถ้าไม่กินเหล้าแล้วจะกลายเป็นผู้หญิง 
                   หรือเป็นตุ๊ดไปหรือ
สุพจน์    :   นั่นซิ   เป็นผู้ชายก็ไม่เห็นต้องกินเหล้า    ผู้หญิงกินเหล้าก็มีน่าเกลียดกว่าผู้ชายเสียอีก  แล้ว
                   ทำไมคนต้องกินเหล้า    
ศรัณย์    :    ก็เขาบอกว่ามันเป็นสิ่งเสพติดไง    คือ  คนกินเเล้วก็ติด    ต้องซื้อมากินเรื่อย ๆ    คนที่เขา
                   ทำขายเขาก็ได้สตางค์
สุพจน์   :    เราว่าไม่ควรส่งเสริมให้คนกินเหล้าและให้คนผลิตเหล้าเพราะเหล้าไม่ได้เป็นพิษเฉพาะกับคน
                   ที่กินเท่านั้น   คนอื่นที่ไม่ได้กิน     แต่ถ้าอยู่ใกล้ ๆ   ก็อาจพลอยถูกพิษของเหล้าด้วย   เรา
                   เกลียดเหล้าที่สุดเลย
ศรัณย์   :     เราก็ไม่ชอบเหมือนกัน
สุพจน์   :    เรามาสัญญากันไหม  ว่าโตขึ้นเราจะไม่กินเหล้า  ถึงจะมีคนชวน  ถึงจะมีคนท้า  เราก็จะไม่กิน
ศรัณย์   :    เอาซิ   แต่....ถ้าเราไม่กินเหล้า  เพื่อนเขาไม่คบกับเราล่ะ
สุพจน์  :   นายจะไปสนใจคนขี้เหล้าทำไมล่ะ
ศรัณย์   :   ไม่รู้ซิ   บางทีเราก็อยากมีเพื่อนแยะ ๆ แล้วเราเคยได้ยินคนเขาพูดว่า  เหล้าทำให้มีเพื่อน
สุพจน์   :   เพื่อนขี้เมาทั้งนั้นน่ะซี   พ่อนายไม่กินเหล้า   เขาก็มีเพื่อนไม่ใช่หรือ
ศรัณย์   :   ใช่  พ่อเรามีเพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกัน   พ่อบอกเราว่า   พ่อรักเราและรักแม่เราจึงไม่กินเหล้า    
                 พ่อบอกว่าอยากอยู่กับเรานาน ๆ   คนที่เล่นดนตรี   คนที่เล่นกีฬาจะแข็งแรงและอายุยืน    
                 คนกินเหล้าอายุสั้น   พ่อเราอยากมีอายุยืน   และพ่อบอกว่าไม่อยากเสียเงินซื้อเหล้า   พ่อจะเก็บ
                 เงินไว้ให้เราเรียนสูง ๆ 

                 สุพจน์กับศรัณย์ได้ทำรายงาน   เรื่อง   โทษของการดื่มสุรา    ส่งครูและได้รับคำชมว่าเป็นรายงานที่ดีเพราะมีข้อมูลหลากหลาย     ข้อมูลเชื่อถือได้     การเสนอข้อมูลและความคิดเห็นสมเหตุผล   มีเอกภาพและใช้ภาษาไทยถูกต้อง


 ข้อคิดจากเรื่อง

        เรื่องที่อ่านเป็นบทสนทนาของนักเรียนชาย ๒ คน   ที่มีความคิดก้าวหน้าสุพจน์มีพ่อที่ดื่มสุรา     พอเมามากแล้ว    ก็จะหาเรื่องทะเลาะกับแม่    เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท    ทำให้ขาดสติและเห็นผิดเป็นชอบ    สุพจน์จึงไม่ตระหนักถึงพิษภัยของสุรามานัก    แต่เมื่อได้เรียนรู้ว่ามีสุรามีพิษร้ายแรงต่อสุขภาพ    ก็เห็นด้วยกับสุพจน์ว่าไม่ควรดื่มสุรา 

        บทสนทนานี้มีลักษณะโน้มน้าวใจให้เห็นโทษของสุรา   โดยใช้เหตุผลของนักเรียนชาย ๒ คน  ที่ทั้งสนับสนุนและโต้แย้งกัน   เสริมด้วยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งจากสารานุกรม    จากอินเตอร์เน็ต    จากการสอบถามบุคคล   และจากการสังเกตของตนเอง    นักเรียนทั้งสองประมวลความรู้    แล้วพิจารณาเลือกทางปฏิบัติสิ่งที่ดี   ที่เหมาะสม   มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม   สุดท้ายได้ตัดสินใจยืนหยัดทำสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกต้อง

การจับประเด็นสำคัญ

       การฟังสนทนา    ฟังการอภิปราย   การอ่านหนังสือ  หรืออ่านบทความใด ๆ  ผู้ฟังผู้อ่านควรพยายามจับประเด็นสำคัญของเรื่องให้ได้ว่า     เนื้อหาของเรื่องนั้นกล่าวถึงอะไร    สาระสำคัญหรือประเด็นหลักคืออะไร    มีเรื่องอะไรเป็นประเด็นรองอะไรเป็นพลความหรือส่วนที่ขยายประเด็นหลักให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   ถ้ามีผู้พูดหรือผู้แสดงความคิดเห็นหลานคน    ก็ต้องพยายามแยกความคิดเห็น    และพฤติกรรมของแต่ละคนให้ได้    เพื่อให้เข้าใจเรื่องได้ถูกต้อง    นอกจากเข้าใจเรื่องแล้ว   ควรพยายามพิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้พูดผู้เขียนด้วย    จุดมุ่งหมายนั้น    บางครั้งก็เห็นได้ง่าย   แต่บางครั้งก็อาจซ่อนอยู่  ต้องวิเคราะห์ใหลึกจึงจะเห็น
  
       เนื้อหาสำคัญของเรื่องที่อ่านในบทนี้  คือ  การแสดงโทษของสุรา   ซึ่งปรากฏในการแสดงความคิดเห็นของศรัณย์และสุพจน์    รวมทั้งในข้อมูลความรู้ที่นักเรียนทั้งสองค้นคว้ามา     จุดมู่งหมายของเรื่อง   คือ  การโน้มน้าวใจให้งดดื่มสุราด้วยการแสดงโทษของสุราที่มีต่อผู้ดื่ม    ทั้งโทษต่อสุขภาพ    โทษต่อบุคลิกภาพ    โทษต่อศีลธรรมและคุณธรรม    ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและทำให้ครอบครัวไม่สงบสุขตลอดจนอาจทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้ใจ   เช่น   คนที่เมาแล้วขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุและทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

      ปัจจุบันการศึกษาหาความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียน    มีแหล่งความรู้ที่นักเรียนจะค้นคว้าได้เองอยู่รอบตัว    ถ้าสงสัยหรือมีปัญหาในเรื่องใด ๆ   ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นความรู้ในวิชาการที่ศึกษา  ความรู้รอบตัว   ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต   ปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ    ปัญหาสังคม    ปัญหาทางอารมณ์   ฯ ลฯ  ในห้องสมุดมีหนังสือมากมายให้ค้นคว้าหาคำตอบ    มีแหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตมีครูอาจารย์และผู้มีความรู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ   ที่สามารถไต่ถามเพื่อให้ได้ความรู้และข้อคิดที่มีประโยชน์

       การหาความรู้จำเป็นต้องมีการกลั่นกรอง    หาแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ   มีสถาบันรับรอง  ต้อง
พิจาณาความถูกต้องและความสมเหตุผลของความรู้ที่ได้รับก่อนที่จะเชื่อถือ   ควรยึดหลักของกาลามสูตรที่มีให้เชื่อสิ่งใดก่อนที่จะได้พิจารณาไตร่ตรองให้รู้ผลอย่องถูกต้อง   เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าถูกต้อง  เห็นว่าเหมาะสมจึงควรเชื่อและปฏิบัติตาม

การสร้างค่านิยมใหม่

      สุราเป็นเครื่องดื่มที่เชื่อกันมาช้านานว่าใช้ดื่มเพื่อเข้าสังคม   แต่ในปัจจุบันความรู้เรื่องพิษของสุราทำให้คนทั่วไปเห็นว่า    การดื่มสุราทำให้เสียสุขภาพ   เสียบุคลิกภาพ   ทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็น   และอาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ง่ายคนจำนวนมากจึงงดดื่มสุรา    เพราะมีบทพิสุจน์แล้วว่าแม้ไม่ดื่มสุรา     
ก็ยังสามารถเข้าสังคมได้ดี   คนรุ่นใหม่หลายคนจึงมีความคิดใหม่   คือหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา   และสร้างค่านิยมใหม่  ไม่ต้องการทำตามค่านิยมที่ผิด ๆ  และค่านิยมที่ขัดกับศีลธรรมที่ดีงาม    จะสังเกตเห็นว่าคนรุ่นใหม่ไม่นิยมสูบบุหรี่   เพราะเข้าใจดีว่าบุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย    และคนที่อยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ก็ได้รับพิษจากควันบุหรี่ด้วย   คนรุ่นใหม่นิยมเล่นกีฬาหรือดนตรี  และใช้การเล่นกีฬาการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ทางสังคมได้อย่างดียิ่ง

          อธิบายศัพท์
          เอทิลแอลกอฮอล์  หมายถึง  แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง  เป็นของเหลวใส  ไม่มีสีเสพเข้าร่างกายแล้วจะทำให้เมา  ทำลายสมองและประสาท  คำนี้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ethyl  alcohol

         มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  หมายถึง  หน่วยวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายวัดได้จากลมที่ผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป่าใส่เครื่องวัด  หรือเจาะเลือดหาปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย
        
          โรคพิษสุราเรื้อรัง  หมายถึง  โรคที่เกิดจากการดื่มสุรามากเป็นเวลานานจนมีอาการสมองและประสาทเสื่อม  มือสั้น  เดินเซ  สติปัญญาเสื่อม

         สารเสพติด  หมายถึง  สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำให้เมื่อเสพเข้าสู้ร่างกายแล้ว เลิกไม่ได้  ต้องเสียอีก  และต้องการเสพมากขึ้นเรื่อยๆ  สารเสพติดพบในสุรา   บุหรี่และในยาบางชนิด  สารเสพติดเกือบทั้งหมดเป็นพิษต่อร่างกาย

ศัพท์วิชาการ
         ศัพท์วิชาการ   หมายถึง   คำศัพท์ที่ใช้กล่าวถึงหรือใช้อธิบายเรื่องราวที่เป็นความรู้ทางวิชาการแขนงต่างๆ มักเป็นคำที่ไม่ใช้กันโดยทั่วไป   เช่น  ศัพท์วิยาศาสตร์  ศัพท์ทางธุรกิจสาขาต่างๆ  ศัพท์กฎหมาย ฯลฯ  ศัพท์วิชาการเป็นคำที่ผู้ศึกษาวิชาการนั้นๆ เข้าใจร่วมกันอย่างดี   ส่วนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอาจไม่เข้าใจ    ศัพท์ ศัพท์วิชาการส่วนมากเป็นคำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ   และนักวิชาการสาขานั้นๆ  แปลหรือสร้างคำขึ้นเป็นศัพท์บัญญติและกำหนดให้มีความหมายตรงกับคำภาษาต่างประเทศเหล่านั้น

        ตัวอย่างศัพท์วิชาการในสาขาต่างๆ
        ศัพท์สาขาวิทยาศาสตร์ 
              คลอโรฟีลล์   การสังเคราะห์แสง  ปรากฏการณ์เรือนกระจก   การกำทอนเซลล์  พล้าสมา  ฯลฯ  
        คณิตศาสตร์
              เอกนาม   พหุนาม   ทฤษฎีบท   เซ็ตว่าง  จำนวนอตรรกยะ  รากที่สอง   ไซน์โคโซน์   คอร์ด  ฯลฯ
        ศัพท์สาขาเศรษฐศาสตร์
              อุปสงค์   หุ้นบุริมสิทธิ์   ธุรกรรม   ไตรมาส   เงินเฟ้อ   ดุลบัญชีเดินสดพัด  จีดีพี  ฯลฯ
        ศัพท์สาขากฎหมาย  
               คดีดำ   คดีถึงที่สุด  กระทงความ  ทำให้เสียทรัพย์    อาญาแผ่นดิน    กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง   ให้การภาคเสธ  ฯลฯ

     ศัพท์บัญญัติ
             คำว่า   ศัพท์ศัพท์บัญญัติบัญญัติ   คือ คำที่คิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์ทางวิชาการภาษาอังกฤษซึ่งรับมาใช้ในภาษาไทยพร้อมกับการรับวิทยาการและความเจริญด้านต่างๆ   ปัจจุบันการรับวิทยาการจากโลกทางตะวันตกมีอยู่ทุกสาขา  ทำให้ภาษาไทยรับคำภาษาอังกฤษเข้ามามากความพยายามที่จะรักษาภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาของชาติมิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อมเร็วเกินไป   ทำให้ผู้มีความรู้และปราชญ์ทางภาษาช่วยกันคิดคำภาษาไทยหรือนำคำภาษาบาลีสันสกฤตซึ่งรู้จักกันดีอยู่แล้วมา
สร้างเป็นคำศัพท์บัญญัติใช้แทนคำภาษาอังกฤษนั้น  คำศัพท์ในวิชาการสาขาต่างๆ   ส่วนมากจึงเป็นศัพท์บัญญัติที่นักวิชาการนั้น ๆ  คิดขึ้น  โดยมีคณะกรรมการของราชบัณฑิตยสถานรับรอง   อย่างไรก็ตาม  การคิดคำศัพท์เพื่อให้ได้คำที่เหมาะ    มีความหมายและเสียงตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เป็นต้นคำไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ง่ายๆ   บางกรณีอาจใช้คำไทยมาปรับใช้ให้ตรงกันได้  เช่น
  กรดน้ำส้ม         เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า          acetic  acid      
  ก๊าซไข่เน่า                                                 "                                                 hydrogen   sulfide
  ฝนกรด                                                       "                                                 acid  rain
                                                                 ฯลฯ
บางกรณีต้องนำคำภาษาบาลีสกสกฤตมาใช้   เช่น
  พหูพจน์           เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า           plural
  สิทธ์                                                           "                                               right
  อวกาศ                                                       "                                               space
                                                                  ฯลฯ
หรือนำคำของภาษาบาลีสันสกฤตมาสร้างตามกฎการสร้างคำแบบสมาส  เช่น
กัมมันตรังสี       เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า      radioactive
บรรยากาศ                                                  "                                            atmosphere
ธรณีวิทยา                                                   "                                            geology
                                                                ฯลฯ
ส่วนคำศัพท์ที่ไม่อาจบัญญัติให้ตรงตามความหมายได้  ก็จำเป็นต้องใช้คำภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำยืม  เช่น
แคลคูลัส           เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำภาษาอังกฤษว่า         calculus
แอลกอฮอล์                                                "                                               alcohol
โครโมโซม                                                 "                                               chromosome
                                                               ฯลฯ     
คำทับศัพท์
          การทับศัพท์     เป็นวิธีการถ่ายรูปคำภาษาอังกฤษมาเขียนด้วยตัวอักษรไทย   โดยเทียบตัวอักษรตัวต่อตัว     ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแปรรูปคำทับศัพท์กลับบไปสู่คำภาษาอังกฤษได้     การทับศัพท์เป็นวิธีการที่ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย     เกตุสิงห์คิดขึ้นใช้ในการเขียนบทความทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในสารศิริราช     เมื่อ     ๕๐     กว่าปีมาแล้ว     ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย   เกตุสิงห์     เป็นบรรนาธิการวารสารการแพทย์ฉบับนั้นและได้พบว่าผู้เขียนบทความและรายงานผลการวิจัยทางการแพทย์     ส่วนมากเขียนบทความภาษาไทยโดยใช้คำภาษาอังกฤษที่เขียนด้วยตัวอักษโรมันแทรกอยู่เป็นจำนวนมาก     เพราะแพทย์ยังไม่สามารถแปลหรือบัญญัติคำภาษาไทยใช้เพื่อแทนคำภาษาอังกฤษนั้น ๆ ได้
           คำทับศัพท์ไม่ได้แสดงการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษ     ทั้งไม่ได้แสดงว่าเป็นคำในภาษาไทย     คำทับศัพท์เป็นเพียงการเขียนคำภาษารอังกฤษด้วยตัวอักษรไทยพอเป็นเค้าให้ทราบว่า     คำนั้น ๆ     ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นคือคำอะไร     คำใดมีศัพท์บัญญัติใช้แล้วก็ไม่ต้องใช้คำทับศัพท์ต่อไป     เช่น     คำทับศัพท์บางคำเมื่อมีใช้มาก ๆ ก็จะมีผู้คิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้แทนทำให้ไม่ต้องใช้คำทับศัพท์อีกต่อไป      เช่นคำว่า    polynomial,    allotropic,     bond     เดิมเคยใช้คำทับศัพท์ว่า        
 โพลิโมเมียล,    แอลโลโทรปิก,   และบอนด์   แต่ปัจจุบันนิยมใช้ศัพท์บัญญัติว่า   พหุนาม,   อัญรูป  และพันธบัตร   ตามลำดับ  คำที่รับมาจากภาษาอังกฤษคำใดไม่สามารถคิดศัพท์บัญญัติขึ้นใช้แทนได้   ก็ต้องรับเป็นคำยืม   จึงต้องเขียนและออกเสียงอย่างภาษาไทย  เช่น  คอมพิวเตอร์    ก๊าซ   น็อต   รักบี้   แท๊กซี่ เปอร์เซ็นต์   เต๊นท์   สตอเบอรีร์   ฯลฯ

คำภาษาปาก
            คำภาษาปาก   คือ  คำที่ไม่เป็นทางการ    ใช้พูดกับคนสนิทอย่างเป็นกันเองไม่ใช้ในภาษาเขียน   คำที่เป็นภาษาปากมีลักษณะสำคัญดังนี้
           ๑. เป็ญคำที่ตัดย่อมาจากคำเต็ม   เช่น 
               เหน็ต      เป็นภาษาปาก         ตัดย่อมาจากคำเต็มว่า     อินเตอร์เน็ต 
               บายดี      
                   
        

Sunday, May 26, 2013

วันวิสาขบูชา


วันวิสาขบูชา


                                             ประวัติวันวิสาขบูชา

           วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ประวัติวันวิสาขบูชา ความสําคัญ วันวิสาขบูชา หมายถึง อะไรเรามีคำตอบ
           วันวิสาขบูชา 2556 ตรงกับวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600 พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา และเชื่อว่าทุกคนรู้จักชื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชากันดีอยู่แล้ว แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบความเป็นมา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา ถ้างั้นอย่ารอช้า...เราไปค้นหาความหมายของ วันวิสาขบูชา และอ่าน ประวัติวันวิสาขบูชา พร้อมๆ กันดีกว่าครับ

 ความหมายของ วันวิสาขบูชา

         
 คำว่า วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" ดังนั้น วิสาขบูชา จึงหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน 6

 การกำหนด วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

          อย่างไรก็ตาม ในบางปีของบางประเทศอาจกำหนด วันวิสาขบูชา ไม่ตรงกับของไทย เนื่องด้วยประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไปตามเวลาของประเทศนั้นๆ

ประวัติวันวิสาขบูชา และความสำคัญของ วันวิสาขบูชา

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่เกิด 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวียนมาบรรจบกันในวันเพ็ญเดือน 6 แม้จะมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี ซึ่งเหตุการณ์อัศจรรย์ 3 ประการ ได้แก่...




                               1. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ

          เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางแปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" แปลว่า "สมปรารถนา"

          เมื่อข่าวการประสูติแพร่ไปถึงอสิตดาบส 4 ผู้อาศัยอยู่ในอาศรมเชิงเขาหิมาลัย และมีความคุ้นเคยกับพระเจ้าสุทโธทนะ ดาบสจึงเดินทางไปเข้าเฝ้า และเมื่อเห็นพระราชกุมารก็ทำนายได้ทันทีว่า นี่คือผู้จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงกล่าวพยากรณ์ว่า "พระราชกุมารนี้จักบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เห็นแจ้งพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก จะประกาศธรรมจักรพรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย" แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์นั้นทรงรู้สึกอัศจรรย์และเปี่ยมล้นด้วยปีติ ถึงกับทรุดพระองค์ลงอภิวาทพระราชกุมารตามอย่างดาบส





                     2. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ

          หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จนเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะก็ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

          สิ่งที่ตรัสรู้ คือ อริยสัจสี่ เป็นความจริงอันประเสริฐ 4 ประการของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ต้นมหาโพธิ์ และทรงเจริญสมาธิภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้ฌานที่ 4 แล้วบำเพ็ญภาวนาต่อไปจนได้ฌาน 3 คือ


          

           


            ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ " คือ ทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่นได้
          
 ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือ การรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการมีตาทิพย์สามารถเห็นการจุติและอุบัติของวิญญาณทั้งหลาย
          
 ยามสาม หรือยามสุดท้าย : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือ รู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจ 4 (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน 6 ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา




                   3. วันวิสาขบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

          เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมเป็นเวลานานถึง 45 ปี จนมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 6 พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวายก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

          เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน 6 นั้น
                     
                            
 ประวัติความเป็นมาของ วันวิสาขบูชา ในประเทศไทย

          ปรากฏหลักฐานว่า วันวิสาขบูชา เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าได้รับแบบแผนมาจากลังกา นั่นคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จากนั้นกษัตริย์ลังกา พระองค์อื่นๆ ก็ปฏิบัติประเพณีวิสาขบูชานี้สืบทอดต่อกันมา

       
   ส่วนการเผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยนั้น น่าจะเป็นเพราะประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยมีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนากับประเทศลังกาอย่างใกล้ชิด เห็นได้จากมีพระสงฆ์จากลังกาหลายรูปเดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และนำการประกอบพิธีวิสาขบูชาเข้ามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย

          สำหรับการปฏิบัติพิธีวิสาขบูชาในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีการบันทึกไว้ในหนังสือนางนพมาศ สรุปได้ว่า  เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัย จะช่วยกันประดับตกแต่งพระนคร ด้วยดอกไม้ พร้อมกับจุดประทีปโคมไฟให้ดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็นก็เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายในไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ

          
หลังจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์มากขึ้น ทำให้ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการประกอบพิธีวิสาขบูชา จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่ โดยสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรก ในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ  และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญ ทำกุศล โดยทั่วหน้ากัน การรื้อฟื้นพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาในครานี้ จึงถือเป็นแบบอย่างถือปฏิบัติในการประกอบพิธี วันวิสาขบูชา ต่อเนื่องมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ

          วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของพระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึงให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ 
และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day  ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา ผู้ที่ยื่นเรื่องให้สหประชาชาติพิจารณา และได้กำหนดวันวิสาขบูชานี้ถือเป็นวันหยุดวันหนึ่งของสหประชาชาติอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสบำเพ็ญบุญเนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระบรมศาสดา โดยการที่สหประชาชาติได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน

 การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา


การประกอบพิธีใน วันวิสาขบูชา จะแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่

          
 1. พิธีหลวง คือ พระราชพิธีสำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบในวันวิสาขบูชา
          
 2. พิธีราษฎร์ คือ พิธีของประชาชนทั่วไป
          
 3. พิธีของพระสงฆ์ คือ พิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจ

 กิจกรรมใน วันวิสาขบูชา

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

          
 1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
          
 2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
          
 3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
          
 4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
          
 5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
          
 6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
          
 7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
          
 8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

 หลักธรรมที่สำคัญใน วันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

          ใน วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

1. ความกตัญญู

          คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ

          ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

2. อริยสัจ 4

          คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่

          
 ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น

          
 สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

          
 นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้

          
 มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ กระทำชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  พยายามชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตมั่นชอบ


3. ความไม่ประมาท

          คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ


          วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต